วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัตตานี คือ ลังกาสุกะ

ปัตตานีคือลังกาสุกะ
ปัตตานีที่ให้ความหมายในหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่จังหวัดปัตตานี ดังที่เป็นอยู่ในแผนที่ประเทศไทยปัจจุบันนี้ แต่เป็นการอ้างอิงถึงรัฐแห่งหนึ่งที่มีเขตแดนที่กว้างขวางกว่านั้น นั้นคือ ครอบคลุมทั้งจังหวัดนราธิวาส, ยะลา และบางส่วนของจังหวัดสงขลา (อำเภอสะบ้ายอ และตีบอ)[1]
รัฐปัตตานีมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าบรรดารัฐในคาบสมุทรมลายู เช่น มะละกา, โยโฮร์ , สลังงอร์ และอื่น ๆ อีก ประวัติศาสตร์เก่าของปัตตานีนั้น คือ การอ้างถึงรัฐมลายูเก่าที่มีอิทธิพลของอินเดียที่มีชื่อว่า ลังกาสุกะ (Langkasuka) อาจารย์คนหนึ่งของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คือท่านอาจารย์เสนีย์ มะดากะกุล มีความเห็นว่าลังกาสุกะตั้งอยู่ที่ปัตตานี ความคิดเห็นนี้มีความสอดคล้องกับนักประวัติศาสตร์อื่นอีกหลายคน เช่น ศาสตราจารย์ไซนัล อาบีดีน วาฮิด (Prof.Zainal Abidin Wahid), มูบิน เชปปาร์ค (Mubin Shepard) , ศาสตร์จารย์ฮอลล์ (Prof.Hall) และศาสตร์จารย์พอล วีทลีย์ (Prof.Paul Wheatly) หลายต่อหลายเหตุผลที่ได้ถูกเสนอให้เห็นว่าทำไมลังกาสุกะที่มีชื่อเสียงนั้นตั้งอยู่ที่ปัตตานี และไม่ใช่ดังเช่นที่มีการค้นพบมาก่อนหน้านี้ นั้นคือที่เคดะห์[2]
นักมานุษยวิทยาได้ยืนยันว่าชนชาติที่เริ่มตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรมลายูนั้นคือชนเผ่าชวา – มลายู (Javanese - Malay) ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายมาเป็นชนชาวมลายูปัตตานี ในภาคใต้ของไทยในปัจจุบันนี้ ในบันทึกแห่งหนึ่งเกี่ยวกับการเดินทางของกษัตริย์สยาม มายังคาบสมุทรมลายู ได้กล่าวว่ามีคนอาหรับและอินเดียได้มาตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ และได้แต่งงานกับชนเผ่าชวา – มลายูนี้ ความเชื่อที่กล่าวว่าชนเผ่าชวา – มลายูนี้เป็นบรรพบุรุษของคนมลายูปัตตานี ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากนักประวัติศาสตร์ไทยคนหนึ่ง คือ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และได้รับการสนับสนุนจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ชื่อ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในบทความหนึ่งของเขาที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันของไทยชื่อ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1975
บรรดาพ่อค้าจากตะวันตก (อาหรับ – อินเดีย) และจีนได้เดินทางมายังคาบสมุทรมลายูก่อนปีคริสต์ศักราชเสียอีก ในหนังสือบันทึกของพ่อค้าเหล่านี้มีที่กล่าวว่า รัฐเก่าที่มีในคาบสมุทรมลายู คือ ลังกาสุกะ นักเดินทางชาวจีนคนหนึ่งกล่าวว่าขณะที่เขาได้เดินทางมายังลังกาสุกะในปี ค.ศ. 200 นั้น เขาพบว่ารัฐนี้ได้มีมานานแล้ว นอกจากนั้นในบันทึกหนึ่งทางประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเขียนในสมัยราชวงศ์เหลียง (ค.ศ. 502 - 566) ได้กล่าวไว้ว่า รัฐลังกาสุกะได้ตั้งขึ้นปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 เสียอีก เป็นไปได้ว่า ระหว่างปี ค.ศ. 80 – 100 เกี่ยวกับที่ตั้งของลังกาสุกะ (เรียกว่า ลัง-ยา-ซิว) บันทึกนี้ได้กล่าวว่า “รัฐลังกาสุกะตั้งอยู่ที่ทะเลใต้ มีดินแดนที่กว้าง นั้นคือจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกใช้เวลาเดินเท้า ถึง 30 วัน และจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ใช้เวลาเดินเท้านาน 20 วัน”[3]
หนังสือประวัติศาสตร์รัฐเคดะห์ที่ชื่อ ๐ตำนานมะรง มหาวังศา” มีที่ได้กล่าวถึงว่า รัฐลังกาสุกะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเคดะห์ นั้นคือ เชื่อว่าตั้งอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ำเมอร์โบะ (Sungai Merbok) อีกส่วนหนึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเคดะห์ นั้นคือเชื่อว่าตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลจีนใต้ ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์พอล วีทลีย์ ไม่สงสัยอีกเลยที่จะกล่าวว่าลังกาสุกะตั้งอยู่ที่ปัตตานีในปัจจุบัน ความคิดเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์เพิร์น (Prof. Pearn), ศาสตราจารย์ฮอลล์ (Prof. Hall) และสมาคมประวัติศาสตร์รัฐกลันตัน อาจารย์เสนีย์ มะดากะกุล ในบทความของเขาที่มีชื่อว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานีโบราณ – รัฐลังกาสุกะตั้งอยู่ที่ไหน, วารสารรูสะมิแล (คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมีนาคม ค.ศ. 1976) ขณะที่ได้กล่าวสนับสนุนความคิดเห็นนี้ได้อธิบายว่าในประวัติศาสตร์จีน เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 และที่ 2 มีการกล่าวถึงชื่อรัฐเคดะห์และลังกาสุกะ หลักฐานนี้ทำให้เขามีความมั่นใจว่ารัฐเคดะห์และลังกาสุกะเป็นสองรัฐที่แยกจากกัน เขาได้กล่าวว่าในการวิจัยหนึ่งที่ได้กระทำขึ้นที่ปัตตานี เขาได้พบผู้เฒ่าคนแก่ที่อำเภอยะรัง ซึ่งได้กล่าวว่ายะรังและปูยุดเดิมนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล ชาวบ้านได้บอกแก่เขาว่าพวกเขาเคยพบชิ้นเศษหินโบราณขณะที่ทำการขุดบ่อลึกประมาณ 6 ฟุต หลักฐานร่องรอยโบราณก็ยังได้ค้นพบตลอดหมู่บ้านยะรังจนถึงหมู่บ้านประแว[4] เป็นการยืนยันว่าที่นั่นเคยเป็นชายฝั่งทะเลหลักฐานเหล่านี้ทำให้เขามีความมั่นใจว่าลังกาสุกะเป็นรัฐเก่าของปัตตานี นอกจากนั้นเขายังได้คัดลอกเรื่องหนึ่งในหนังสือ Negarakertagama ที่ได้กล่าวไว้ว่า ตัวเมืองปัตตานีในศตวรรษดังกล่าว (ศตวรรษที่หนังสือดังกล่าวถูกเขียนขึ้น) มีชื่อว่ายือแร (Djere) นั้นเป็นคำเรียกที่ใกล้เคียงกับคำว่ายะรัง หรือยือไรในภาษามลายู พร้อมกันนั้นข้อมูลจากประวัติศาสตร์ของจีนก็ได้กล่าวไว้ว่ายะรังนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล
ศาสนาและความเชื่อ
มีความเชื่อกันว่าลังกาสุกะมีการนับถือศาสนาฮินดู ศาสตราจารย์เอ.ทิว (A.Teuw) และศาสตราจารย์ดี.เค.วัยแอต (D.K. Wyatt) ในการบรรยายครั้งหนึ่งขณะที่มีการจัดนิทรรศการวัฒนธรรมภาคใต้ของไทยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปี ค.ศ. 1970 ได้ยืนยันว่าลังกาสุกะนั้นมีความรุ่งเรืองในทางด้านการค้าและฝั่งทะเลนั้นมีพ่อค้าจำนวนมากมาเทียบเรือ โดยเฉพาะในการเดินทางของพวกเขาระหว่างคาบสมุทรมลายูกับเวียดนาม ในปี ค.ศ. 450 มีพ่อค้าชาวจีนคนหนึ่งได้บันทึกว่าที่ปัตตานี (ลังกาสุกะ) เขาได้พบคนกลุ่มพราหมณ์จำนวนหลายคนจากอินเดียที่อาศัยอยู่ในราชสำนัก หลักฐานนี้เป็นการยืนยันว่าศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ได้ฝังลึกที่ปัตตานีตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 450
ศาสตราจารย์ฮอลล์ได้กล่าวว่า ในปี ค.ศ. 515 กษัตริย์ลังกาสุกะที่รู้จักในนามว่าดาคะ ดัตตะ (Bhaga Datta) นั้นเป็นชื่อในภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “ผู้นำแห่งอำนาจ” ชื่อนี้ได้ให้ความหมายที่ชัดเจนถึงอิทธิพลของอินเดียและฮินดูในลังกาสุกะเกี่ยวกับพิธีกรรมของประชาชนลังกาสุกะนั้น ประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์เหลียงได้กล่าวถึงว่าประชาชนลังกาสุกะไม่ชอบไว้ผมยาว ศีรษะของพวกเขามีการโกนเกรี้ยง พวกเขาใส่เสื้อผ้าที่ทอจากฝ้ายและสวมเสื้อไม่มีแขน กษัตริย์นั้นมักเดินทางไปที่แห่งใดด้วยการทรงช้างโดยมีควาญช้างผู้หนึ่ง ข้าบริวารตั้งแถวยาวเดินขบวนตามกษัตริย์ด้วยการถือธงและตีกลอง
เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยประสบความสำเร็จในการครอบครองนครศรีธรรมราชในปี ค.ศ. 775 และต่อมาได้ขยายอำนาจของเขามาทางใต้ (ปัตตานี) นับแต่นั้นมาประชาชนปัตตานีก็ได้ละทิ้งศาสนาพราหมณ์ฮินดูและได้เข้ารับนับถือศาสนาพุทธ เชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยนั้น ยังได้เผยแพร่ภาษามลายูมายังปัตตานี พระพุทธรูปองค์หนึ่งสมัยศรีวิชัยที่ถูกค้นพบในถ้ำของวัดถ้ำ ในพื้นที่ยะลาเป็นหลักฐานยืนยันได้ถึงการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาจากพราหมณ์มาเป็นพุทธนี้ อย่างไรก็ตามหลักฐานร่องรอยโบราณนี้มีเป็นจำนวนมาถูกทำลาย เมื่อต่อมาชาวปัตตานีได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งทำให้รัฐปัตตานีในปัจจุบันมีความขาดแคลนด้านวัตถุโบราณ และสิ่งเหล่านี้ทำให้ลำบากในการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์เก่าแก่ของปัตตานีภาษามลายูสันสกฤตและศาสนาพุทธที่ถูกนำมาโดยศรีวิชัยนั้น มีอิทธิพลอย่างมากเหนือชาวปัตตานี เริ่มตั้งแต่สมัย การปกครองของศรีวิชัยนี้เอง ที่ปัตตานีเริ่มเจริญขึ้นและได้รับความรุ่งเรือง ทำให้ปัตตานีมีชื่อเสียงมากกว่าสมัยก่อนหน้านี้
ตามคำกล่าวของอาจารย์เสนีย์ มะดากะกุล ปัตตานีเริ่มได้รับความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพุทธศักราชที่ 800 ในช่วงเวลาปีเดียวกันนั้นศรีวิชัยที่ปาเล็มบังได้รวมกับรัฐของไสเลนทรา (Sailendra) ที่ชวา จึงได้จัดตั้งตนเองกลายเป็นมหาอำนาจหนึ่งมีการครอบครองไม่เพียงแต่ภูมิภาคมลายูยังรวมถึงอินโดจีน กษัตริย์ไสเลนทราได้เลือกปัตตานีให้เป็นศูนย์อำนาจการปกครองในคาบสมุทรมลายู การปกครองของศรีวิชัยที่ปัตตานีดำเนินไปโดยปราศจากการใช้กำลังทหารและเหล่าข้าราชการ แต่ด้วยกานใช้อำนาจทางทะเลและธุรกิจการค้า ความรู้ที่ทรงค่าหลายอย่างเช่น การไถ และทำไร่ที่ชาวปัตตานีรับมานั้นมาจากคนชวา
อี้ชิง นักเดินทางชาวจีนผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียง ได้กล่าวว่าวัฒนธรรมมลายูพุทธในหมู่เกาะอินโดนีเซียนั้นมีความเจริญมาก โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 6 วัฒนธรรมเหล่านี้เชื่อว่าถูกนำเข้ามายังปัตตานี โดยผ่านภาษา, ศาสนาพุทธ, วิชาการเดินเรือ, สถาปัตยกรรม,ดนตรี และเครื่องใช้ของราชนิกูล ศาสตราจารย์ฮอลล์ได้ให้ภาพลักษณะรูปร่างเดินทะเลสมัยศรีวิชัยว่ามีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองด้วยสีสันและเว้นช่วง ด้วยการแกะสลักที่ละเอียดอ่อน เมื่อนำคำอธิบายเหล่านี้มาสัมพันธ์กับเรือกและกลันตันและปัตตานี ดังนั้นคำอธิบายและฮอลล์นี้ก็มีความเป็นจริงอยู่เช่นกัน

การสร้างเมืองปัตตานี
ตามหนังสือที่ชื่อว่า ตำนานปัตตานี (Hikayat Patani) ผู้ก่อสร้างเมืองปัตตานีคือพญาตูนักพา (Phyatu Nakpa) เขาเป็นบุตรของพญาตูกรุบมหาชนะ (Phyatu krub Mahajana) ซึ่งปกครองอยู่สถานที่แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า “โกตามะห์ลีฆัย” เพราะโกตามะห์ลีฆัย เพราะโกตามะห์ลีฆัยแห่งนี้ตั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเล ดังนั้นจึงเป็นการลำบากต่อบรรดาต่อค้าในการแวะจอด การค้าภายในรัฐจึงเสื่อมลง และเกิดการขาดแคลนสถานการณ์เช่นนี้เป็นเหตุให้ประชาชนภายในรัฐออกไปดำรงชีวิตอยู่ภายนอกเมืองมีผลทำให้ประชากรของโกตามะห์ลีฆัยมีจำนวนลดลงมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล นั้นคือบริเวณเหล่าหมู่บ้านที่ถูกบุกเบิกโดยคนมลายูจากสุมาตรา มีสถานภาพที่ตรงข้ามกัน คือยิ่งเจริญขึ้นและคนเพิ่มขึ้น[5]
ในวันหนึ่ง พญาตูนักพาไปล่าสัตว์ยังป่าเขาที่ตั้งอยู่ปลายชายหาดแห่งหนึ่ง ที่ชายหาดแห่งนั้นมีกระต๊อบหนึ่งที่อาศัยอยู่โดยผู้เฒ่าสองคน หนึ่งในจำนวนนั้นมีชื่อว่าปะตานี เมื่อพระองค์เดินทางถึงชายหาดดังกล่าว พระองค์พบว่าพื้นที่บริเวณริมทะเลแห่งนั้นมีความเหมาะสมยิ่งสำหรับก่อสร้างเมือง แทนเมืองของพระองค์ที่ตั้งอยู่ไกลออกไปบนบก ดังนั้นพระองค์จึงมีคำสั่งให้ย้ายเมืองโกตามะห์ลีฆัยไปยังพื้นที่แห่งนั้นเหมาะสมกับชื่อเจ้าของกระต๊อบที่พระองค์ได้พบมา เมืองนั้นจึงถูกเรียกว่า ปะตานี (Pak Tani) ต่อมามีการเพี้ยนมาเป็นปัตตานี ชื่อของปัตตานีนี้ที่กล่าวว่าชื่อเดิมมาจากปะตานี โดยใช้เกณฑ์ของหนังสือที่ชื่อ ตำนานปัตตานี และประวัติราชอาณาจักรมลายูปัตตานี (หน้า 27)[6]
ภายหลังจากพญาตูนักพาได้ย้ายไปยังปัตตานี ปัตตานีเพิ่มประชากรมากขึ้นและด้วยเพราะทำเลที่ตั้งดี สถานที่แห่งใหม่นี้กลายเป็นที่อุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรืองบรรดาวงศานุวงศ์กษัตริย์ก็เริ่มย้ายไปยังที่นั่น พญาตูนักพาได้ทำการสั่งให้สร้างวังขึ้นมาแห่งหนึ่งใกล้กับหมู่บ้านปะตานี นั้นคือในพื้นที่กรือเซะปัจจุบัน ด้วยการให้ประตูวังหันหน้ายังทิศทางแม่น้ำที่ชื่อแม่น้ำเปอปีรี (Pungai Peperi) ซึ่งในปัจจุบันได้ตื้นเขินแล้ว
มีป้อมปราการแห่งหนึ่งก็ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับป้องกันการโจมตีของศัตรู ตามลักษณะวิชาความรู้การทหารในสมัยนั้น ป้อมปราการนี้ถูกขุดเริ่มจากแม่น้ำกรือเซะ จนกระทั่วจรดถึงแม่น้ำเปอปีรีในหมู่บ้านปาเระ นับแต่นั้นประชาชนปัตตานีได้พัฒนารัฐของเขาให้ยิ่งเจริญก้าวหน้าขึ้น เมื่อพญาตูนักพาได้เสียชีวิตลง บุตรที่ชื่อว่า ราชา อินทิรา (Raja Antira) ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ ถึงอย่างไรก็ตาม วันเวลาของการปกครองของสองกษัตริย์นี้ยังไม่สามารถค้นพบได้

[1] ปัจจุบันนี้มีการสะกดเป็น “สะบ้าย้อย” และ “เทพา”
[2] ตามการวิจัยของดาโต๊ะ จอห์น บรัดเดิล พื้นที่ด้านตะวันออกของลังกาสุกะ ครอบคลุมดินแดนฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู เริ่มจากสงขลา,ปัตตานี,กลันตัน จนถึงตรังกานู รวมทั้งด้านตอนเหนือรัฐเคดะห์ (ดูมูฮัมหมัดดะห์) ลัน มันโซร์ : ประวัติศาสตร์ภูมิภาคมลายูยุคต้น, สภาภาษาและหนังสือกัวลาลัมเปอร์ 1979, หน้า 51-52
[3] ดู พอล วัทลีย์, คาบสมุทรทองคำ, ปุสตากาอิลมู, กัวลาลัมเปอร์, 1966 หน้า 253 - 254
[4] ในอำเภอยะรัง ชื่อที่ถูกต้องคือ “พระ-องค์”ที่หมายความถึง “วังกษัตริย์” ในภาษาไทย ในหมู่บ้านนี้ยังมีร่องรอยวังกษัตริย์และสิ่งของสมัยโบราณ
[5] อิบราฮิม ชุกรี, ประวัติราชอาณาจักรมลายูปัตตานี, ปาเสร์ ปูเตะห์, ไม่มีวันเดือนปีพิมพ์ หน้า 26
[6] นอกจาก แนวบอกเล่า ของตำนานปัตตานีและประวัติราชอาณาจักรมลายูปัตตานีเหล่านี้ ก็ยังมีเรื่องความเป็นมาของชื่อปัตตานีอยู่ในเรื่องเล่าของผู้เฒ่าคนแก่ที่ปัตตานี อย่างน้อยมีอยู่ 2 แนวบอกเล่าที่เป็นมุขปาฐะ ซึ่งข้าพเจ้าเคยฟังเกี่ยวกับความเป็นมาของรัฐปัตตานีนี้คือ แนวบอกเล่าแรก : ชื่อปัตตานีเดิมมาจากประโยค “ปันไต อีนี” (หาดแห่งนี้) มีเรื่องที่เล่ากันในเรื่องแนวบอกเล่านี้ ว่ามีบุตรกษัตริย์ผู้หนึ่งจากรัฐในโพ้นทะเล (ไม่รู้ว่าอยู่แห่งหนใด) มาเกยตื้นที่ “ปันไต อีนี” (หาดแห่งนี้) ภายหลังจากเรือของเขาแตกถูกพายุตีและอัปปางที่กลางมหาสมุทร บรรดาลูกเรือทั้งหมด สำลักน้ำและจมในทะเล เขาเองปลอดภัยมาถึง “ปันไต อีนี” เพราะพามาโดยปลาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปลากาจัง (ปลาอาลู-อาลู ?) บังเอิญขณะที่บุตรกษัตริย์ผู้นี้ถึงที่ชายหาด ประชาชนรัฐดังกล่าวกำลังรวมตัวเพื่อค้นหาว่าที่ กษัตริย์องค์ใหม่แทนภายหลังจากกษัตริย์องค์ก่อนสิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มีบุตรและธิดาเลย ตามขนบธรรมเนียมรัฐนั้น เมื่อขาดผู้สืบราชบัลลังก์ ดังนั้นผู้จะมาแทนต้องหาโดยวิธีการปล่อยช้างเผือก เพื่อเลือกกษัตริย์องค์ใหม่จากกลุ่มประชาชนรัฐนั้น ตามขนบธรรมเนียมนี้ผู้ใดก็ตามที่ถูกช้างเผือกแตะด้วยงวง ดังนั้นผู้นั้นจะต้องได้รับการยอมรับให้เป็นกษัตริย์ของรัฐนั้น โดยไม่มีการกำหนดว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ชายหรือสตรี, เด็กเล็กหรือคนแก่ , ร่ำรวยหรือว่ายากจน หรืออย่างอื่นใด ตามคำบอกเล่าในเรื่องนี้ เมื่อช้างดังกล่าวถูกปล่อยไป ช้างดังกล่าวได้ตรงไปยังทิศทางทะเล แล้วยกบุตรกษัตริย์ที่ถูกพาขึ้นฝั่งโดยปลากาจัง ขึ้น ด้วยเหตุฉะนี้บุตรกษัตริย์ดังกล่าวจึงถูกให้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ และเรียกกันว่า “กษัตริย์แห่งปันไต อีนี (หาดแห่งนี้)” ชื่อนี้ต่อมาเป็นเวลานานเปลี่ยนเป็น “กษัตริย์แห่งปาตานี” ต่อมาอีกเป็น “ปาตานี (Pata Ni)” และปาตานี (Patani)
แนวบอกเล่าที่สอง : แนวบอกเล่าที่สองนี้มีชื่อเดิมมาจากประโยค “ปันไต อีนี” และปาตานี (Patani) ต่างจากเรื่องอื่นอีก ตามแนวบอกเล่าที่สองนี้มีขบวนของกษัตริย์กำลังล่าอีเก้ง (หรือกวาง ?) ที่หลงทางอยู่ในป่าที่ริมทะเล เมื่อได้ไล่ล่า สัตว์ดังกล่าวหนี้ไปยังทิศทางทะเลและหายไปที่นั่น จะหาเพียงใดก็ไม่พบ ขณะที่กษัตริย์ได้ติดตามหลังมาและถามทิศทางสัตว์ดังกล่าวได้หายไป สมาชิกในขบวนได้บอกว่าสัตว์ดังกล่าวได้หายไปที่ “ปันไต อีนี” (หาดแห่งนี้) ถึงแม้ว่ากษัตริย์ได้มีคำสั่งให้ค้นหาสัตว์ดังกล่าวจนกว่าจะพบ แม้สัตว์ดังกล่าวไม่สามารถค้นพบได้ และหายไร้ร่องรอย ตามเกณฑ์ของเรื่องนี้สถานที่บริเวณริมฝั่งทะเล ซึ่งเป็นสถานที่ที่กษัตริย์ได้ล่าสัตว์ข้างต้น รู้จักในชื่อของ “ปันไตอีนี” (หมายความว่าได้หายไปที่หาดแห่งนี้) ต่อมาภายหลังเหมือนดังแนวบอกเล่าที่หนึ่ง ด้วยกาลเวลาเปลี่ยนไป ชื่อนี้ได้เปลี่ยนไป จนในที่สุดกลายเป็น ปัตตานี (Patani) (ทั้งสองแนวบอกเล่าเรื่องตำนานเหล่านี้ที่มีการบอกเล่าแก่ข้าพเจ้าโดยผู้เฒ่าคนแก่ผู้หนึ่งที่ปาลัส อำเภอปะนาเระ ปัตตานี ตอนช่วงกลางของทศวรรษที่ 1960)

คัดจาก หนังสือ ประวัติศาสตร์ปัตตานี เขียนโดย Ahmad Fathy Al-Fatani แปลเป็นภาษาไทยโดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน จัดพิมพ์โดย สถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อ่านแล้วปฎิบัติ


1. ความเพีย
การสร้างสรรค์ตนเองการสร้างบ้านเมืองก็ตามมิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันควรทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีควรต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง
พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่ 27 ตุลาคม 2516
2. ความพอดี
ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไปด้วยความรอบคอบ ระมัด ระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
ขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540
3. ความรู้ตน
เด็กๆทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัวการรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้วจะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521
5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496
6. พูดจริง ทำจริง
ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจ จัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540
7. หนังสือเป็นออมสิน
หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514
8. ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531
9. การเอาชนะใจตน
ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้ สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ